วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียน Room12/56

การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียน

ตารางการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียน

รูปแบบการสอน
ขั้นที่ 1
ขั้นที่ 2
ขั้นที่ 3
Constructionism
1. Explore    การสำรวจตรวจค้น
คือขั้นตอนนี้บุคคลจะเริ่มสำรวจตรวจค้นหรือพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่ (assimilation) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อได้พบหรือ ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่ไม่มีอยู่ในสมองของตน ก็จะพยายามรับหรือดูดซึมเก็บเข้าไปเป็นความรู้ใหม่
2. Experiment
การทดลอง คือขั้นตอนนี้จะเป็นการทดลองทำภายหลังจากที่มีการสำรวจไปแล้วเป็นการปรับความแตกต่างระหว่างของใหม่กับของเดิมจนเกิดความเข้าใจว่าควรจะทำอย่างไรกับสิ่งใหม่นี้ต่อไป
3. Learning by doing การเรียนรู้จากการกระทำ คือการลงมือปฏิบัติแล้วสร้างองค์ความรู้ใหม่เป็นองค์ความรู้ของตนเอง ขั้นตอนนี้จะเป็นการผสมผสานระหว่างการรับหรือดูดซึม และการปรับความแตกต่าง
Biggs 3P Model
1. ครูนำ เสนอบทเรียนในขั้นนำ เสนอ(P1 = Presentation)โดยนำ เสนอเป็นรูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร (Whole Language) ไม่แยกสอนเป็นคำ ๆ นักเรียนจะเข้าใจภาษานั้นโดยภาพรวม หลีกเลี่ยงการแปลคำ ต่อคำ การนำ เสนอต้องชัดเจน และตรวจสอบจนแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจสิ่งที่ครูนำ เสนอนั้น
2. ครูใช้กิจกรรมในขั้นฝึก (P2=Practice) อย่างหลากหลาย โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ฝึกหัดและพูดในกลุ่มใหญ่ก่อน ฝึกกลุ่มโดยใช้การฝึกลูกโซ่  ฝึกคู่เปลี่ยนกันถามตอบ และก็ฝึกเดี่ยวโดยพูดกับครูทีละคน
3. กิจกรรมขั้นนำ เสนอผลงานP3 (Production) เป็นขั้นที่นักเรียนจะนำ ภาษาไปใช้ ครูอาจจะให้ทำ แบบฝึกหัด อ่านและเขียนร้องเพลงหรือเล่นเกม ที่สืบเนื่องและเกี่ยวข้องกับภาษาที่เรียนมาในขั้นที่ 1 และ 2 อาจให้ทำ งานเป็นการบ้านหรือสร้างสรรค์ผลงาน
Su learning Model
1. ผู้เรียนกำหนดกรอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง ด้วยการระบุ ความรู้และการปฏิบัติโดยระบุความรู้ ในรูปของสารสนเทศหรือdeclarative knowledge และระบุทักษะ การปฏิบัติ(โครงงาน งานภาระงาน) กลยุทธ์ ทักษะ หรือกระบวนการ หรือprocedural knowledge และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ และระบุเกณฑ์คุณภาพวัตถุประสงค์การเรียนรู้เป็นค่าระดับตามโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (structure of observed learning out-comes:SOLO Taxonomy)
กรณีที่วัตถุประสงค์เป็นความรู้ความเข้าใจ จะระบุเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน(collaborative learning)หรือการเรียนรู้แบบนำตนเอง(self-directed learning)โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้เรียนต้องการการเรียนรู้แบบการมีความคิดวิจารณญาณ จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน(cooperative learning) มีการอภิปรายเรื่องราวที่เรียนรู้ กลยุทธการเรียนรู้แบบท างานเป็นทีม หรือกลยุทธการเรียนรู้เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์
DRU  Model
1. P= Planning การวางแผน

D = Design การออกแบบและการพัฒนา
C = Cognitive network  ความรู้ความกระจ่างชัด
A = Affective network    การเรียนรู้จากเพื่อนร่วม วิชาชีพ
2. C= Cognitive network  ความรู้ความกระจ่างชัด

L = Learning การเรียนรู้
M = Management  การจัดการ,การควบคุม
S = Strategic network  กลวิธี
3. A = Assessment การประเมินค่า

S = Strategic network  กลวิธี
A = Affective network  การเรียนรู้จากเพื่อนร่วมวิชาชีพ
E = Evaluation  การประเมินผล

การทดลองใช้การวิจัยในชั้นเรียน
1. Pre Test
สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
- ตั้งปัญหาที่จะศึกษา
เด็กนักเรียนชั้น ม.บกพร่องการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
2. สมมุติฐาน
ถ้านักเรียนในชั้นเรียนได้แสดงทัศนคติร่วมกันและได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันในการทำกิจกรรมต่างๆพอสมควร ดังนั้นนักเรียนจะสามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ DRU Model (K, A, P)

ผลการเรียนรู้
คำแสดงกริยาเชิงพฤติกรรม
1. ความรู้(K)
บอก เล่า อธิบาย ระบุ ยกตัวอย่าง ฯลฯ
2. กระบวนการ(P)
2.1 กระบวนการคิด
จำแนก จัดกลุ่ม เปรียบเทียบ นำไปใช้ ประยุกต์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ฯลฯ
2.2 กระบวนการกลุ่ม และกระบวนการสังคม
ทำงานเป็นกลุ่ม  แสดงบทบาทหัวหน้า เลขา และ สมาชิกกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น
2.3 การปฏิบัติ
ทดลอง ทำกิจกรรม สร้าง ออกแบบ พัฒนา ใช้อุปกรณ์ ใช้เครื่องมือ ฯลฯ
2.4 กระบวนการสื่อสาร
ฟัง พูด อ่าน เขียน ฯลฯ
3.คุณลักษณะอันพึงประสงค์และเจตคติ  (A)
ตระหนัก ยอมรับ  สนใจ ใฝ่รู้ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์
    
4. Port Test
สรุปผลการตั้งสมมติฐาน
        ระยะเวลา อาทิตย์ นักเรียนชั้น ม.มีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น หลังจากผ่านกระบวนการที่ได้นำมาใช้ นักเรียนสามารถทำงานร่วมกัน อภิปรายและประสานงานกันได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บรรยากาศในการเรียนภายในห้องเรียนเป็นไปอย่างสนุก ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นจากการกล้าแสดงออกทางความคิด 

การเปรียบเทียบการสอนรูปแบบเก่ากับรูปแบบใหม่

การสอนรูปแบบเก่า
การสอนรูปแบบใหม่ (DRU)
ขั้นนำ

ครูให้นักเรียนทบทวนความรู้เดิม ยกตัวอย่างสิ่งที่อยู่รอบๆตัว
ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนตอบ
ครูมีกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน เช่น ร้องเพลง เต้น หรือใช้เกม
Planning การวางแผน

นักเรียนออกแบบการจัดการเรียนรู้
นักเรียนค้นคว้า เรียนรู้จาก PPT,E-Book,ใบความรู้
นักเรียนคุยกับเพื่อน กับผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นสอน

ครูให้นักเรียนทำการทดลอง
ครูสอนแบบบรรยาย โดยใช้หนังสือหรือ ใช้ Power Point (PPT)
ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดลงสมุด หนังสือ
Cognitive network  ความรู้ความกระจ่างชัด

นักเรียนเลือกได้ว่าจะเรียนรู้จาก PPT,E-Book หรือใบความรู้
นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข
นักเรียนกำหนดกลวิธีในการเรียนรู้
ขั้นสรุป

ครูให้นักเรียนทำใบงาน
ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงาน
ครูให้นักเรียนสรุปโดยทำแผนผังความคิด
Assessment การประเมินค่า

นักเรียนมีกลวิธีในการเรียนรู้ การแบ่งงาน ทำงานตามความสามารถ
นักเรียนประเมินตรวจสอบ หรือทบทวนตัวเอง
นักเรียนคุยกับเพื่อน ผู้รู้ และผู้เชี่ยวชาญ


นางสาวอัจฉรา มะณีกรด รหัสนักศึกษา 5641060112

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่ม 12 รุ่น 56 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

NPU Model วิชาพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์

NPU Model

NPU Model

NPU Model คือ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ที่มาจากนิยามศัพท์ของการวิจัย ที่ว่าการวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ผู้วิจัยนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์มาเป็นสาระสำคัญประกอบด้วยการทำความกระจ่างชัดในความรู้การเลือกรับและทำความเข้าใจ สารสนเทศใหม่และการตรวจสอบทบทวนและใช้ความรู้ใหม่ในทำนองเดียวกนผู้วิจัยได้ศึกษาแบบจำลอง  Biggs 3’P Model ตัวแปรก่อนเรียน(Presage) กระบวนการ(Process) และผลผลิต(Product) สอดคล้องกับแนวคิดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์(Treffinger, Isaksen and Dorval, 2000) ประกอบด้วย
1)  ความเข้าใจที่ท้าทาย(Understanding the Challenge) มุ่งค้นหาจุดหมาย(goal)โอกาส             (oppor-tunity) ความท้าทาย  (Challenge) ความกระจ่างชัด(clarifying) คิดแผนการ(formulating) เพื่อกำหนดกรอบ ความคิดสำคัญในการปฏิบัติงาน
2)  การสร้างมุมมองในการคิดแก้ปัญหา(Generating Ideas)
3)  การเตรียมทั้งวิธีการในการปฏิบัติงานและความสำเร็จในการปฏิบัติงาน(Preparing for Action)
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เป็นแบบจำลองการสอน เรียกว่า NPU Model ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 N- Need Analysis
        1.1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้นักศึกษาวิเคราะห์หลักการจัดการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 และ     จุดหมายของการศึกษาในระดับสากล  (World class Education) เพื่อกำหนดจุดหมายในการเรียนรู้วิชา “การพัฒนาหลักสูตรและนำไปกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้น
         1.2 การวางแผนการเรียนรู้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
 1)กำหนดกลยุทธการพัฒนาตนเองจากการศึกษาเอกสารหนังสือหลักฐานร่องรอยหรือการสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
  2) จัดทำปฏิทินและเครื่องมือในการกำกับติดตามเพื่อการประเมินตนเองในการพัฒนาหลักสูตร
ขั้นที่  2 P-/Praxis
2.1 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้นักศึกษาศึกษาเรียนรู้ด้วย การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันการใช้วิธีการต่างๆในการเรียนรู้ และการตรวจสอบความรู้กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
    2.1.1 การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้
    2.1.2 การใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้
   2.1.3 การตรวจสอบความรู้นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ทำกิจกรรมการปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และกิจกรรมกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดของนักศึกษาเปิดการอภิปรายให้กว้างขวางเสนอหลักฐานร่องรอยของความคิดของนักพัฒนาหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้อภิปรายกับกลุ่มเพื่อนภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน
2.2การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ภาษาของตนเองสอบถามถึงหลักฐานและความชัดเจนในการอธิบายของนักศึกษาที่ใช้ความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการอธิบายในส่วนการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนขยายความรู้ความเข้าใจใน กระบวนการพัฒนาหลักสูตร” ของนักศึกษาโดยผ่านประสบการณ์ใหม่ๆผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนให้นำความรู้ปรับใช้กับประสบการณ์ ในชีวิตจริงโดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรนักศึกษานำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ โดยการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้น
ขั้นที่ 3 U-Understanding
การตรวจสอบทบทวนตนเองด้วยการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้-การประเมินความรู้ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินความรู้และความสามารถของตนเอง
ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนและประเมินการบรรลุจุดหมายการศึกษา

ผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและนำเสนอเป็นแบบจำลองการเรียนการสอน เรียกว่า NPU Model

นางสาวอัจฉรา มะณีกรด รหัสนักศึกษา 5641060112
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่ม 12 รุ่น 56 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

รูปแบบการสอนแบบ LRU Model

LRU Model

รูปแบบการสอนแบบ LRU Model
LRU Model
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์
รูปแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา มีชื่อว่า LRU Model มี 3 ขั้นตอน คือ 
1) การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ (L) 
2) การวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (R) 

3) การใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินพัฒนาการเรียนรู้ (U)


นางสาวอัจฉรา มะณีกรด รหัสนักศึกษา 5641060112
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่ม 12 รุ่น 56 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

จุดประสงค์การเรียนรู้วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ room 12/56

จุดประสงค์การเรียนรู้วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์

จุดประสงค์การเรียนรู้วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
จุดประสงค์การเรียนรู้ :
1.ผู้เรียนสามารถรู้และเข้าใจความหมายของการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ (Knowledge)
2. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้และพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ให้เหมาะกับวิชาสอนได้ (Do)
3. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้และพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ให้เหมาะกับผู้เรียนได้ (Do)
ตาราง 15 สัปดาห์ วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์

ที่
กิจกรรม
ชิ้นงาน
1
ปฐมนิเทศ ชี้แจ้งวิชาเรียน เกณฑ์การให้คะแนน
-
2
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบต่างๆ
-
3
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบต่างๆ
-
4
รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-
5
รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-
6
สอบกลางภาค
คะแนนสอบ
7
รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์
-
8
รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์
-
9
รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์
-
10
พัฒนาบุคคลการเลือกรูปแบบในการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียน
-
11
พัฒนาบุคคลการเลือกรูปแบบในการสอนให้เหมาะสมกับชั้นเรียน
-
12
การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
-
13
การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
-
14
นำเสนองาน
15
สอบปลายภาค
คะแนนสอบ

ประวัติส่วนตัว นางสาวอัจฉรา มะณีกรด Room12

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ-นามสกุล     นางสาวอัจฉรา มะณีกรด         ชื่อเล่น  จีจี้                         
รหัสนักศึกษา    5641060112   ห้อง 12
กำลังศึกษา       ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ที่อยู่ปัจจุบัน     468 หมู่ 3 ซอยบางโปรง 10 ต.บางโปรง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
เบอร์โทร         083-700-5332
E-mail           audcharajeje10@gmail.com
Facebook      Audchara Maneekrod
ประวัตการศึกษา
ระดับชั้นอนุบาล : โรงเรียนเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท
ระดับชั้นประถมศึกษา : โรงเรียนนิลรัตน์อนุสรณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ

การระดมสมองช่วงบ่าย Room12

การระดมสมองช่วงบ่าย (3/มีนาคม/2560)

ข้อสอบปลายภาคเรียน รายวิชา 1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏธนบุรี
คำชี้แจง ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มระดมสมองในประเด็นต่อไปนี้
1. การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์คืออะไร มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไรที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอนดังกล่าวนี้
ตอบ     การพัฒนารูปแบบการสอนแบบจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2542 โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนทุกด้านให้ได้ระดับมาตรฐานตามความมุ่งหวังของประเทศชาติ
          มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอน เพราะรูปแบบการสอนจะต้องมีความทันสมัยเหมาะสมกับวัย และผู้เรียนสามารถเลือกวิธีที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ได้ โดยมีครูเป็นผู้ดูแล ช่วยเหลือ และควบคุม
2.จงวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประเด็นใดบ้างที่สมควรนำมาเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตอบ     เราสามารถแยกออกเป็น ประเด็น
          1. สภาพการเรียนการสอน
1.1 ด้านครู ส่วนใหญ่ครูมีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่สอนมีประสบการณ์สอนเป็นเวลานานมีความรับผิดชอบสูง
1.2 ด้านนักเรียน มีการจัดสอนเสริมและบริการแนะแนวให้แก่นักเรียนพร้อมทั้งมีทุนการศึกษาให้นักเรียน
1.3 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนใหญ่หัวหน้าหมวดวิทยาศาสตร์และครูร่วมกันกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรม มีการปฏิบัติการและลองสอนตามหลักสูตร
1.4 ด้านสื่อการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีการส่งเสริมการผลิตสื่อและการจัดซื้อสื่อตามความต้องการของครู
1.5 ด้านการวัดและประเมินผล
          2. ปัญหาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
             2.1 ด้านครู การขาดแคลนครูผู้ช่วยในการจัดเตรียมการเรียนการสอน
             2.2 ด้านนักเรียน นักเรียนมีจำนวนมากกว่าห้องเรียน
             2.3 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนอื่นทำให้มีการเดินทางลำบาก          2.4 ด้านสื่อการเรียนการสอน ครูไม่ค่อยใช้สื่อช่วยสอนแต่ครูส่วนใหญ่จะสอนแบบบรรยาย
             2.5 ด้านการวัดและการประเมินผล ข้อสอบที่ครูออกส่วนใหญ่เน้นเรื่องความจำ       
3. หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปัจจุบันมีความเป็นไปได้เพียงใด ในการจัดการศึกษา 3.0 และเมื่อรัฐบาลประกาศจัดการศึกษา 4.0 จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ     การจัดการศึกษา 3.0
          เป็นไปได้ เพราะครู 3.0 มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาการที่ตนสอนเป็นอย่างดี รู้ความสนใจ ความถนัด สติปัญญา และศักยภาพของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน มีความรอบรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ ทั้งแหล่งเรียนรู้บนสื่อพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิทัล และกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน การเรียนการสอน           แบบ 3.0 จึงเน้นที่การเรียนมากกว่าการสอน ครูจึงใช้เวลาในการบรรยายหรือถ่ายทอดน้อยลง
          การจัดการศึกษา 4.0
          เป็นไปได้ เพราะการจัดการศึกษา 4.0 จะใช้สมรรถนะที่ครูมีอยู่ในการทำให้นักเรียนกลายเป็นนักเรียน 4.0 ด้วยการเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนได้รับทักษะที่จำเป็นสำหรับ ศตวรรษที่ 21 คือทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม การเรียนการสอน 4.0 จึงเน้นที่การสร้างชุมชนแห่งความสงสัย กระตือรือร้น อยากเรียนอยากรู้ และอยากได้คำตอบขึ้นใจชั้นเรียน
4.นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการเรียน รายวิชา 1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ อย่างไรบ้าง มีความคาดหวังต่อการเรียนรู้รายวิชาดังกล่าวนี้เพื่อที่จะนำไปใช้ในอาชีพครูที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพครู (ตามที่คุรุสภากำหนด) โดยสรุป
ตอบ     มาตรฐานความรู้/มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
          มาตรฐานความรู้
                   1. การจัดการเรียนรู้
                   2. จิตวิทยาสำหรับครู
                   3. การวัดและประเมินผลการศึกษา
                   4. นวัตกรรมและเทคโนโลยี
                   5. ความเป็นครู
          มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
                   1. มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ระหว่างเรียน
                   มาตรฐานการปฏิบัติงาน
                   - มาตรฐานที่ ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน หมายถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นหลัก
                   - มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน ผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ หมายถึงให้ผู้เรียน เรียนได้ตามความถนัดโดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน และปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้ได้ผลดี
                   - มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
                   - มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หมายถึงเลือกใช้และปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
                   - มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน หมายถึงการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง
                   - มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
                   - มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ แนวทางที่นำสู่ผลก้าวพัฒนาของผู้เรียนได้ทุกสถานการณ์

นางสาวอัจฉรา มะณีกรด รหัสนักศึกษา 5641060112
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่ม 12 รุ่น 56 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี